Saturday, January 07, 2006

Death Penalty Campaign in Thailand

จากการที่สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ได้สำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต พบว่าการยกเลิกการรณรงค์การยกเลิกโทษประหารชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสิทธิมษุยชนทั่วโลกที่เป็นไปพันธกรณีตามพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 2 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยมีประเทศทั่วโลกจำนวน 55 ประเทศให้การรับรอง โดยล่าสุดคือประเทศ ไลบีเลียเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2005 นอกจากนี้ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วจำนวน 88 ประเทศ ถ้ารวมประเทศที่ไม่มีการประหารชีวิต จำนวน 139 ประเทศ ขณะที่ประเทศที่ยังมีโทษประหารชีวิตจำนวน 58 ประเทศ

ในทวีปอเมริกา มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่มีโทษประหารชีวิต แต่ที่ยังใช้โทษประหารชีวิตมีจำนวน 38 มลรัฐ จากจำนวนทั้งหมด 50 มลรัฐ สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปจำนวน 25 ประเทศต่างยกเลิกโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ประเทศเซเนกัลได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทุกข้อหาความผิดในวันสิทธิมนุษยชนใน ค.ศ. 2004 ร่วมกับหลายประเทศในทวีปอาฟริกา

สำหรับประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2005 MR.Seiken Suguira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนใหม่ ได้แถลงว่าจะไม่เซ็นอนุญาตให้ประหารชีวิตตามคำพิพากษาของศาล โดยมีความเห็นว่า “ไม่มีใครสามารถฆ่าคนอื่นได้ ” แต่เขายืนยันว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่ได้เป็นนโยบายของรัฐบาล และในอดีตระหว่างปี 1989 – 1993 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นไม่เซ็นอนุญาตให้ประหารชีวิตมาแล้ว

อาจกล่าวได้ว่า ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยต่างยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่โทษประหารชีวิตมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ และประเทศที่ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ

ในกรณีประเทศประเทศไทย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ร่วมกับกับสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลได้ศึกษาและจัดทำรายงานโทษประหารชีวิตในประเทศไทย และกำลังเริ่มศึกษากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีที่มีโทษประหารชีวิตตลอดทั้งปี เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตแก่รัฐบาล สื่อมวลชน บุคคล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยจะมีกิจกรรมต่างๆในปีหน้า

No comments: