Monday, March 13, 2006

Statement of Thai medical personnel against participation in executions


Thailand has introduced execution by lethal injection on the assumption that a method perfected in the United States of America must be the most satisfactory. However,
Thai doctors have already condemned participation in the executions by doctors or nurses.

แพทย์กับการประหารชีวิต
เฮนรี่ ไวลต์, พ.บ.*, ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์, พ.บ.**,
สุขิต เผ่าสวัสดิ์, พ.บ.***, เยื้อน ตันนิรันดร, พ.บ.***, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, พ.บ.***
นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ใช้วิธียิงเป้าเป็นการประหารชีวิตไปแล้ว 279 ราย ในจำนวนนี้มี ผู้หญิง 1 ราย ซึ่งต้องคำพิพากษาในข้อหาลักพา ขณะนี้มีผู้ต้องหาอีก 53 ราย ที่รอการประหารชีวิตอยู่ โดยหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องหาค้ายาเสพติด ฆาตกรรมและข่มขืนแล้วฆ่าเด็ก แต่ละรายมีโอกาสอุทธรณ์หรือแม้แต่การยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. 2541 ที่ผ่านมามีการประหารชีวิตเพียงสองราย แต่มีบางกระแสกระตุ้นให้เร่งกระบวนการพิจารณาคดีให้จบสิ้นเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดียาเสพติด ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้ผู้คิดจะทำผิดเกิดความหวาดกลัว
เท่าที่ผ่านมาแพทย์และ/หรือพยาบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการประหารชีวิตได้ 2 ทางคือ ตรวจรับรองว่า ผู้ต้องหายังมีชีวิตและมีสติสัมปชัญญะหรือว่าตายแล้ว
เมื่อเร็วๆนี้กรมราชทัณฑ์เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นการฉีดยาให้ตาย โดยอ้างว่าวิธีใหม่ต้องด้วยหลักมนุษยธรรมมากกว่าและเป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล หากแนวคิดใหม่นี้สามารถก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแล้ว แพทย์และ / หรือพยาบาลก็อาจต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
คณะทำงานด้านจริยธรรมของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขอวิจารณ์ประเด็นการทำโทษผู้ต้องหาด้วย การประหารชีวิต แต่จะตั้งข้อสังเกตว่า การประหารชีวิตเป็นกิริยาอาการที่ไม่สามารถทำอย่างถูกสุขลักษณะหรือต้องด้วยมนุษยธรรมได้ ข้อสำคัญคือในหลายๆประเทศได้ปรากฎว่ามีการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปด้วย แพทย์และพยาบาลมิได้เป็น ผู้พิพากษาและคงไม่สมควรอย่างยิ่งเป็นผู้ช่วยในการประหารชีวิตคน ในเมื่อบุคคลทั้งสองวิชาชีพต่างมีอุดมการณ์และให้สัตย์ปฏิญานตนไว้ว่าจะช่วยปกป้องชีวิตและทำให้ผู้ป่วยเจ็บหายจากโรคโดยไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย การเข้าร่วมกระบวนการประหารชีวิตในรูปแบบใดก็ตามจึงเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎข้อบังคับทางจริยธรรมตามมาตรฐานสากลแห่งวิชาชีพ ซึ่งองค์กรแพทย์หลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทยสมาคมโลก ได้ให้คำจำกัดความของประเด็นนี้พร้อมทั้งห้ามมิให้สมาชิกเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรมานหรือประหารชีวิตคน อย่างไรก็ตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติราชการอยู่ในกระบวนการยุติธรรม คือ จะทำอย่างไรหากได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมกระบวนการประหารชีวิต ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ จึงควรที่จะต้องมีกฎข้อบังคับซึ่งเอื้ออำนวยให้แพทย์และพยาบาลสามารถปฏิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมอันขัดต่อจริยธรรมวิชาชีพโดยไม่ต้องรับโทษทัณฑ์อันเกิดจากการขัดคำสั่ง ปรากฎว่าในบางประเทศได้ทำอย่างที่กล่าวและ น่านำมาพิจารณาปฏิบัติในประเทศไทย
ถ้าหากจะมีการประหารชีวิตจริงๆ คงจะต้องพิจารณาเลือกปฏิบัติต่ออาชญากรที่กระทำอาชญากรรมร้ายแรงและมีการพิจารณาความที่พิสูจน์ยืนยันอย่างชนิดที่ปราศจากข้อสงสัยใดๆ ส่วนในประเด็นที่ว่าผู้ต้องหาจะต้องตายด้วยกระสุนปืนหรือสารพิษนั้น ไม่ควรต้องพึ่งพาแพทย์หรือพยาบาล
คำสำคัญ : แพทย์, การประหารชีวิต
* สถานเสาวภา, สภากาชาดไทย, กรุงเทพฯ 10330
** ฝ่ายศัลยกรรม, โรงพยาบาลตำรวจ, กรุงเทพฯ 10330
*** ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 10330

There are increasing objections to the method of lethal injection in the United States itself
Most recently the execution of Michael Morales in the State of California has been postponed indefinately when two anesthesiologists refused to participate in the execution:

"Morales, 46, of Stockton was to have been put to death at 7:30 p.m. at San Quentin State Prison for raping, bludgeoning and stabbing 17-year-old Terri Winchell near Lodi in January 1981. The execution originally was scheduled for 12:01 a.m. Tuesday, but it was postponed when two anesthesiologists withdrew their agreement to monitor the injection of a three-drug sequence and to make sure Morales was unconscious as he was being put to death."
The refusal of the anesthesiologists to participate is in line with the declaration of the American Society of Anesthesiologists:

"Where ASA stands on lethal injection
ASA does not take a position on capital punishment, as this is not the practice of medicine.
ASA recognizes the American Medical Association's ethical principles about physician participation in lethal injections, in particular that physicians should not participate in executions, either by direct action or by performing ancillary functions. This includes making recommendations about drugs to be used.
Physicians are healers, not executioners. The doctor-patient relationship depends upon the inviolate principle that a doctor uses his or her medical expertise only for the benefit of patients"

No comments: