Monday, October 08, 2012

Jose Ramos-Horta appeals to Thailand

ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยืนหยัดต่อต้านความตาย


โดย โฮเซ รามอส – โฮร์ตา
 วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันครบรอบปีที่ 10 ของวันต่อต้านโทษประหารชีวิตโลก ข้าพเจ้าภูมิใจที่จะพูดว่าสิทธิอันละเมิดมิได้ของการมีชีวิตได้ถูกบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศติมอร์-เลสเตของข้าพเจ้า การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพของประเทศเราไม่ใช่ไม่มีการเสียสละ ในการแสวงหาศักดิ์ศรีและการตัดสินใจด้วยตนเอง บุคคลอันเป็นที่รักของเราหลาย ๆ คนต้องเสียชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจตลอดเวลาถึงคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ดังนั้น สิ่งแรก ๆ สิ่งหนึ่งที่เราทำหลังจากได้รับอิสรภาพเมื่อ 10 ปีมาแล้วคือการรับรองว่าจะไม่มีใครได้รับโทษประหารชีวิต

การเคารพชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน ในมาตราที่ 3 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งบัญญัติขึ้นหลังสงครามโลกที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายสิบล้านคน กล่าวไว้ว่า “ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิต” ในทำนองเดียวกัน ประเทศกัมพูชาผ่านความป่าเถื่อนของทุ่งสังหารและมีรัฐธรรมนูญซึ่งยืนยันคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว

เมื่อปฏิญญาสากลถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1948 นั้น มีเพียง 8 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ในวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมานี้ นาย บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้รายงานว่าจำนวนประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมีจำนวน 150 ประเทศ ขณะที่อีก 32 ประเทศยังคงโทษนี้อยู่

แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่มีการประหารชีวิตเพียง 2 รายตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้แจ้งต่อสหประชาชาติว่าไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของการยกเลิกโทษประหารชีวิต การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ถูกรวมไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2552 – 2556 และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ มีการลดโทษนักโทษประหาร 58 คนให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต

ญัตติเรียกร้องให้หยุดโทษประหารชีวิตทั่วโลกถูกเสนอเข้าสู่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ 3 ครั้งในปี ค.ศ. 2007, 2008 และ 2010 ในสองครั้งแรก ประเทศไทยลงคะแนนเสียงคัดค้าน แต่ในครั้งสุดท้าย ปี ค.ศ. 2010 ประเทศไทยงดออกเสียง

ในเดือนธันวาคม จะมีการยื่นญัตติหยุดโทษอีกครั้งในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในฐานะมิตรของประเทศไทย ข้าพเจ้าหวังว่าประเทศไทยจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนญัตตินี้ แม้ว่าในการลงคะแนนเสียงทุกครั้ง เสียงสนับสนุนจะมีเพียงพอที่จะผ่านญัตติโดยเสียงสนับสนุนเพิ่มจำนวนขึ้นทุกครั้ง เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยจะลงคะแนนสนับสนุนเพื่อเป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการของจุดยืนทางศีลธรรมของรัฐบาลและประชาชน ในเรื่องที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ข้าพเจ้าหวังอย่างจริงใจว่าประเทศไทยจะดำเนินการสืบเนื่องคำสัญญานี้โดยการหยุดการลงโทษประหารชีวิตและหยุดการประหารชีวิต

เราจะสามารถเสนอเหตุจูงใจอะไรให้แก่ประเทศที่ยังลังเลเพื่อให้สนับสนุนการก้าวไปข้างหน้านี้? เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติและนักมนุษยธรรมได้ตระหนักว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง ซีซาร์ เบคคาเรีย นักอาชญวิทยาชาวอิตาเลียนได้ชี้ให้เห็นในงานที่มีชื่อเสียงของเขาเรื่อง Crime and Punishment (อาชญากรรมและการลงโทษ) ว่าการประหารชีวิตไม่มีผลในทางยับยั้ง ความมั่นใจว่าจะถูกจับและถูกลงโทษเป็นสิ่งขวางกั้นเพียงอย่างเดียวของอาชญากรรม

ข้อสนับสนุนการหยุดการประหารชีวิตมีหลายประการ สภายุโรปซึ่งมีสมาชิก 47 ประเทศ ได้ตั้งให้การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นข้อแม้หนึ่งในการเข้าเป็นสมาชิก โดยประกาศอย่างกล้าหาญว่า “โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ผิด เหมือนกันกับการทรมาน” โทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรม แต่ว่าเราจะได้ประโยชน์มากจากการเน้นถึงชีวิตมนุษย์ที่จะละเมิดมิได้ ในประวัติศาสตร์ของเอเชีย ได้มีการเน้นถึงความเมตตา กรุณา และการให้อภัยในทุก ๆ ศาสนาและคุณค่าทางวัฒนธรรม

ในฐานะประชาชนคนหนึ่งของประเทศพี่น้องในครอบครัวของประเทศในทวีปเอเชีย ข้าพเจ้าหวังว่าทุกประเทศในเอเชียจะร่วมกับติมอร์-เลสเตในการลงคะแนนเสียงสนับสนุนชีวิตเหนือความตายในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ข้าพเจ้าภูมิใจอย่างยิ่งที่ติมอร์-เลสเตไม่มีโทษประหารชีวิตและโทษจำคุกสูงสุดคือ 25 ปี เราไม่มีโทษจำคุกตลอดชีวิต

โฮเซ รามอส-โฮร์ตา
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1996)
ประธานาธิบดีประเทศติมอร์-เลสเต (2007-2012)
อดีตนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ
  


Time for Thailand to Take a Stand against Death

by Jose Ramos-Horta
(Published in Bangkok Post, Wednesday 10th October 2012)
October 10 marks the 10th World Day Against the Death Penalty. I am proud to say that the inalienable right to life is enshrined in the Constitution of my country, Timor-Leste. Our struggle for independence was not without sacrifice. Many of our loved ones died in the quest for self-determination and dignity, a constant reminder of the sacredness of life. Therefore, one of our first priorities upon gaining independence 10 years ago was to ensure that no one would be subject to the death penalty.

This reverence for human life is consistent with humanity’s experience of the modern world. The Universal Declaration of Human Rights, formulated after the devastating world wars that caused the deaths of tens of millions of people, declares in Article 3 “Everyone has the right to life”. Similarly, Cambodia emerged from the savagery of its Killing Fields with a Constitution that also upholds the sacredness of life. The Philippines, another ASEAN member, has also abolished the death penalty.

At the time the Declaration was proclaimed in 1948, only eight countries had abolished the death penalty. On September 13th of this year, the UN Secretary General Mr. Ban Ki Moon reported that the number of countries which have now, in one form or another, abolished the death penalty has reached a total of 150 States, while another 32 are retentionist.

Although Thailand retains the death penalty, there have been only 2 executions since 2009. The government of Thailand has told the UN that it is studying the possibility of abolishing the death penalty. Abolition of the death penalty has been included in Thailand’s National Human Rights Program of 2009 to 2013. On August 15th this year, there was a remarkable commutation of sentence from execution to life imprisonment of all 58 condemned prisoners.

The resolution calling for a World Wide Moratorium on the Death Penalty has been presented at the UN General Assembly 3 times already in 2007, 2008, and 2010. Thailand on the first two occasions voted against the Moratorium, but in 2010, abstained.

In December, a vote on a Moratorium will again be submitted to the UN General Assembly. I hope, as a friend of Thailand, that it will vote in favor of the resolution. While the votes have been enough to get the resolution passed, with an increasing number of countries voting “Yes” with each occasion, it is important that Thailand votes “yes” as official evidence of the moral stand of its government and people. Just as importantly, I sincerely hope that Thailand follows up on such an official commitment by stopping the imposition of death sentences and executions.

What motivation can be proposed to favor a step forward for countries which still hesitate?  For centuries now, law makers and humanists have come to realize that the death penalty does not deter serious crime. Caesar Beccaria, an Italian criminologist pointed out in a famous work on Crime and Punishment, that execution was an ineffective deterrent, that certainty of detection and punishment were the only bar to crime.

There are many arguments for a Moratorium on execution. The Council of Europe, an association of 47 states, makes abolition of the death penalty a condition of membership, declaring boldly: “Capital Punishment, like torture, is simply wrong”. The death penalty doe not deter crime, however much is to be gained in emphasizing the inviolability of human life. In the history of Asia, there is an emphasis on mercy, kindness and forgiveness in all our faiths and cultural values.

As member of a brother nation in the family of Asian nations I hope that all the countries of Asia will join Timor-Leste in the UN General Assembly to cast a positive vote in favor of life over death. I am very proud that Timor-Leste does not have the death penalty, and that the maximum prison sentence is 25 years. We do not have life imprisonment.

Jose Ramos-Horta
Nobel Peace Prize Laureate (1996)
President of Timor-Leste (2007-2012)
Former Prime Minister, Foreign Affairs Minister

No comments: